โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา เชียงราย เข้าร่วมกิจกรรมติดตามโครงการพัฒนานครเชียงราย สู่เมืองแห่งความสุข 3 มิติ (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

มทร.ล้านนา เชียงราย เข้าร่วมกิจกรรมติดตามโครงการพัฒนานครเชียงราย สู่เมืองแห่งความสุข 3 มิติ (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม)

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 18 มีนาคม 2567 โดย กวินวุฒิ สุทธนะ จำนวนผู้เข้าชม 83 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 17 มีนาคม 2567 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย นำโดย ดร.ถาวร อินทโร ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมด้วย ผศ.ดร สุบิน ใจทา อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และดร. ณัฐรกานต์ คำใจวุฒิ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เข้าร่วมและให้ความรู้ในบูธนิทรรศการการเรียนรู้การตรวจสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้แบบเบื้องต้น ในกิจกรรมติดตามโครงการพัฒนานครเชียงราย สู่เมืองแห่งความสุข 3 มิติ ซึ่งประกอบด้วยมิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และมิติด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนทุกวัย สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของจังหวัดเชียงราย ขับเคลื่อนการดำเนินงานเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Global Network of Learning Cities (GNLC) ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) โดยเทศบาลนครเชียงรายร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ภายใต้การประชุม ครม. สัญจร กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) ในการนี้ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานและกล่าวถึงนโยบายการขับเคลื่อนงาน อว.พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงฯ และคณะผู้บริหารกระทรวงฯ อว.ลงพื้นที่ติดตามงานในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 ตามนโยบายของ อว. ที่ให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมไปช่วยพัฒนาท้องถิ่นตามความต้องการของชุมชน ตลอดจนช่วยแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนและส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ภาพ , ข่าว : ดร.ณัฐรกานต์ คำในวุฒิ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา