ประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน
ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขึ้นมาใหม่นั้น สำนักงานตรวจสอบภายใน จึงมีการแบ่งการทำงานของบุคคลากรสายสนับสนุน ออกเป็น 6 พื้นที่ 1 สถาบัน โดยได้แบ่งการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และตอบสนองพันธกิจของมหาวิทยาลัย โดยมีผู้บังคับบัญชาสูงสุด คือ หัวหน้าสำนักตรวจสอบภายใน ดังนี้
1. พื้นที่เชียงใหม่
2. พื้นที่เชียงราย
3. พื้นที่ลำปาง
4. พื้นที่น่าน
5. พื้นที่พิษณุโลก
6. พื้นที่ตาก
7. สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร
งานตรวจสอบภายใน หน่วยตรวจสอบภายใน
มีหน้าที่ตรวจสอบภายในตามแผนการตรวจสอบภายใน (Audit Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อกำหนดทิศทางการปฏิบัติงานตรวจสอบให้เหมาะสมและสอดคล้องกันสถานการณ์ปัจจุบัน โดยดำเนินการภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน จริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในส่วนราชการโดยแผนการตรวจสอบภายในฉบับนี้ได้มีการประเมินความเสี่ยง ๒ ประเภท ได้แก่
เครื่องมือเทคนิคประเภทที่ใช้ในการรายงานผลการตรวจสอบได้ให้ความเชื่อมั่นตามประเภทการตรวจสอบอย่างน้อย ๖ ด้าน ดังนี้
บุคลากรหน่วยตรวจสอบภายใน
1. นางสาวชื่นหทัย เสมอจิต นักตรวจสอบภายใน
นโยบายการตรวจสอบ
ด้านการกำกับดูแล
ด้านการสนับสนุน
ด้านการส่งเสริม
ตาราง แสดงนโยบายการตรวจสอบและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
นโยบาย/ความต้องการให้ตรวจสอบ |
---|---|
คณะกรรมการผู้บริหาร มทร.ล้านนา เชียงราย |
มอบนโยบาย ข้อคิดเห็นเพื่อสนับสนุนการวางแผนการตรวจสอบภายใน โดยให้มุ่งเน้น การตรวจสอบเชิงป้องกัน ควบคุม และตรวจสอบเชิงสร้างสรรค์ ดังนี้
|
ระเบียบ ข้อบังคับ ของ มทร.ล้านนา |
|
กรมบัญชีกลาง |
การวางแผนการตรวจสอบภายใน สำหรับผู้ตรวจสอบภายในภาคราชการ ให้กำหนดเรื่องตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานที่สำคัญนอกเหนือจากเรื่องที่ตรวจสอบตามปกติ ของหน่วยงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ ดังนี้
|
ปรัชญา
“ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม ระมัดระวังรอบคอบ รับผิดชอบในหน้าที่”
วิสัยทัศน์ (Vision)
มุ่งมั่นในการตรวจสอบภายใน อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามมาตรฐานการตรวจสอบของส่วนงานราชการ
พันธกิจ (Mission)
1. เสริมสร้างและพัฒนาผู้ตรวจสอบให้มีความรู้ความสามารถ
2. จัดทำแนวทางการตรวจสอบ ตามมาตรฐานการตรวจสอบของส่วนงานราชการ
3. ตรวจสอบและสอบทานระบบการควบคุมภายใน
4. ให้คำแนะนำ ปรึกษา เกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน แนวทางการปฏิบัติงานตามกฎ ระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับ
5. วางแผนการติดตามและประเมินผลการตรวจสอบภายใน พร้อมทั้งนำเสนอรายงานผลการตรวจสอบต่อผู้บริหาร
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพบุคลากรสู่มาตรฐานการตรวจสอบระดับสากล
2. เพื่อพัฒนาแนวทางการตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบของส่วนงานราชการ
3. เพื่อสร้างและพัฒนาความเข้มแข็ง ในระบบการบริหารจัดการของทุกหน่วยงาน
ยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดของงานตรวจสอบภายใน
1. พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
1.1 ร้อยละของบุคลากรในสำนักงานตรวจสอบภายในที่ผ่านการอบรมพัฒนาความรู้ในด้านที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการตรวจสอบ
1.2 ร้อยละของบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ CGIA โครงการของหน่วยงานในกำกับ มีการพัฒนาความรู้และนำไปปรับใช้ในการทำงาน
1.3 ร้อยละความสำเร็จของการจัดทำวิเคราะห์ค่างานเพื่อจัดทำสมรรถนะตามตำแหน่งงานและการดำเนินด้านแผนพัฒนาสมรรถนะ
2. ระบบการบริหารของสำนักงานตรวจสอบภายในมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
2.1 ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงาน
2.2 ระดับความสำเร็จการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐเป็นไปตามมาตรฐานการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐ
3. พัฒนากระบวนการทำงานเชิงรุก
3.1 ระดับความสำเร็จของการพัฒนากระบวนการทำงานเชิงรุก
3.2 ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบการทำงาน
ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของงานตรวจสอบภายใน
งานตรวจสอบภายในได้กำหนดโครงการ/กิจกรรม ตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยที่ ๔ การพัฒนาการบริหารจัดการและการสร้างฐานวัฒนธรรมองค์กร กลยุทธ์ที่ ๔.๑ พัฒนาระบบกลไกการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยภายใต้หลักธรรมาภิบาล กลยุทธ์ที่ ๔.๒ บริหารจัดการทรัพยากรของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า และกลยุทธ์ที่ ๔.๓ พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จำนวนทั้งสิ้น ๕ โครงการ ดังนี้
โครงการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายใน จำนวน ๕ โครงการ ประกอบด้วย
1.1 โครงการตรวจสอบภายในแบบบูรณาการของสำนักงานตรวจสอบภายใน มทร. ล้านนา
1.2 โครงการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบการบริหารงานประจำมหาวิทยาลัย
1.3 โครงการอบรมหลักสูตร “ประกาศนียบัตรผู้ตรวจสอบภายในภาครัฐ (CGIA)”
1.4 โครงการการจัดการความรู้ (KM) ของสำนักงานตรวจสอบภายใน มทร.ล้านนา
1.5 โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจสอบภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ๙ มทร.
กิจกรรมสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
1.1 กิจกรรมให้คำปรึกษาหน่วยงานในสังกัดมทร.ล้านนา ได้แก่
1.1.1) ด้านการบริหารความเสี่ยง
1.1.2) ด้านการจัดวางระบบควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน
2) ด้านการจัดทำบัญชีและรายงานการเงิน
3) ด้านการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
ข้อมูล ณ วัน 30 มิถุนายน 2563
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา