เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 1 กรกฎาคม 2568 โดย นางสาวกิ่งกานต์ สาริวาท จำนวนผู้เข้าชม 90 คน
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2568 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย จัดกิจกรรม “เปิดบ้านราชมงคลล้านนา เชียงราย” เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาจากจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 21 โรงเรียน ได้เข้ามาสัมผัสบรรยากาศการเรียนรู้และทดลองใช้ห้องปฏิบัติการในคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชไมพร รัตนเจริญชัย ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร มทร.ล้านนา เชียงราย ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน และกล่าวต้อนรับคณะครูและนักเรียน และมีนางณัชชา ทิพย์ประเสริฐ ผู้อำนวยการกองการศึกษา กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ
ภายในงานจัดให้มีกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ การแข่งขันทักษะโครงงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมวัสดุแบบยั่งยืน การประชุมหารือเพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยกับโรงเรียน การเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและการสาธิตการใช้เครื่องมือในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และบริหารธุรกิจ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก ดร.ธีรพงศ์ ยะทา กรรมการผู้จัดการบริษัท นาอีฟ อินโนวา จำกัด มาร่วมบรรยายสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมมอบรางวัลพิเศษให้กับโครงงานนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกเข้าสู่กระบวนการวิจัยร่วมกับบริษัทฯ กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่นจากคณะครู นักเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมศักยภาพเยาวชน พร้อมปูทางสู่การเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ผลรางวัลมีรายละเอียดดังนี้
รางวัลที่ 1 ได้แก่ โครงงานเรื่อง สารเคลือบเพื่อลดความร้อนสำหรับโซล่าเซลล์ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ประกอบด้วย 1. กฤตัชญ์ มานะขันติกุล
2. จักรกฤษ หงษ์คำ
3. อัจฉริยภูมิ แสนส่อง
ครูที่ปรึกษา : นายนวมินทร์ วงค์ไชย
รางวัลที่ 2 ได้แก่ โครงงานเรื่อง การพัฒนาทรายแมวคอมโพสิตลดคาร์บอนจากวัสดุชีวภาพ จากโรงเรียนพะเยาวิทยาคม
ประกอบด้วย 1. นางสาวธัญญาเรศ ดุเหว่า
2. นางสาวธินันชา เรียนวัน
3. นางสาวประภาศรี อังษานาม
ครูที่ปรึกษา : 1. นางสาวอรอนงค์ ยามเลย
2. นายจรูญพงษ์ ชลสินธุ์
รางวัลที่ 3 ได้แก่ โครงงานเรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างอนุภาคทองคำนาโนและทองแดงนาโนในการตรวจจับสัญญาณชีวภาพของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากขั้นเบื้องต้น จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย
ประกอบด้วย 1. นายวรากร คำแปง
2. นายภีมพิพัฒน์ กุลชนะพิไล
3. นายกันต์พงษ์ ศรีนเรศพงษ์
ครูที่ปรึกษา : 1. นางสาวปิยะวรรณ ปัญญะโส
รางวัลชมเชยลำดับที่ 1 ได้แก่ โครงงานเรื่อง ปลอกแก้วเก็บเย็น จากโรงเรียนเทิงวิทยาคม
ประกอบด้วย 1. นาย ธนกฤต ทิวาพัฒน์
2. นาย ชัยนะ พลอ่อน
3. นางสาว พัชรวลัย ฟองนิ้ว
ครูที่ปรึกษา : 1. นางสาววรรณพร ชะเต
รางวัลชมเชยลำดับที่ 2 โครงงานเรื่อง ฟิล์มเซอริซินย่อยสลายได้จากรังไหมเหลือทิ้งสำหรับยืดอายุผักและผลไม้ตัดแต่งทางการเกษตร จาก โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
ประกอบด้วย 1. นางสาวธัญวรัตน์ มีโสภา
2.นางสาวบุษบากร ทรงทอง
3.นางสาวปิติชา สายสนิท
รางวัลชมเชยลำดับที่ 3 โครงงานเรื่อง เครื่องผสมน้ำยางกับกรดฟอมิกสำหรับผลิตยางก้อนถ้วย จากโรงเรียนเทิงวิทยาคม
ประกอบด้วย 1. นาย ฌัฐพล ช่างเหลา
2. นาย ธนทรัพย์ โชคพัฒนสกุล
3. นาย จักราวุธ พรมสี
รางวัลพิเศษ 3 รางวัล ประกอบด้วย
1. โครงงานเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดขยะอินทรีย์จากต้นแบบกล่องวัฏจักรแมลงวันลาย จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย
สมาชิกประกอบด้วย 1. นายปิยเชษฐ์ แสงจันทร์
2. นางสาวกมลชนก ทามาตย์
3. นางสาวพรปวีณ์ ศรีวงศ์เนียม
ครูที่ปรึกษา : 1. ครูนวมินทร์ วงค์ไชย
2. โครงงานเรื่อง ไส้กรองดูดซับตะกั่วและโลหะหนักโดยใช้เอนไซม์เซลลูโลสจากสับปะรดภูแล จาก โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์
สมาชิกประกอบด้วย 1. นายเพชรตัดเพชร มุสิกสาร
2. นายจิตติพัฒน์ นาคพิพัฒน์
ครูที่ปรึกษา : 1. นายชนาธิป โหตรภวานนท์
3. โครงงานเรื่อง หลอดกรองน้ำยูวี อัจฉริยะ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย
สมาชิกประกอบด้วย 1. อภิเษก เกิดสุข
ครูที่ปรึกษา : 1. นางสุนีย์ ยามี
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา