โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการสนับสนุนงานวิจัยและการดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน ประจำปี 2566 ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง จังหวัดเชียงราย | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการสนับสนุนงานวิจัยและการดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน ประจำปี 2566 ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง จังหวัดเชียงราย

เผยแพร่เมื่อ : อาทิตย์ 11 มิถุนายน 2566 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 807 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          ระหว่างวันที่ 8-10 มิถุนายน พ.ศ. 2566 คณะทำงานผู้รับผิดชอบงานสนับสนุน ติดตาม และประเมินผล โครงการ/กิจกรรม ในพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพื้นที่สนับสนุนงานใต้ร่มพระบารมี ร่วมกับหัวหน้าโครงการ และคณะผู้วิจัย นำโดย อาจารย์สุภัทรจิตต์ มะโนสด อาจารย์อนิรุทธ์ สงธนาพิทักษ์ อาจารย์ปองสุข ศรีชัย และอาจารย์สมควร สงวนแพง คณะผู้วิจัยในสังกัดคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา จังหวัดเชียงราย ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรม Focus Group ภาคีเครือข่าย ตามแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมประชุมกับหัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ต้นแบบบ้านผาตั้งและบ้านผาหม่น เพื่อหารือแนวทางความเป็นไปได้ และรูปแบบการดำเนินกิจกรรมที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ในพื้นที่เป้าหมาย
          ในที่ประชุมผู้แทนชุมชนทั้ง 2 หมู่บ้าน นายขวัญชัย ติ๊บมูล หัวหน้าศูนย์ฯ และคณาจารย์ผู้วิจัย ได้นำเสนอรูปแบบการดำเนินโครงการ ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และผลการเก็บข้อมูลในพื้นที่โดยรอบศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง รวมถึงได้เปิดเวทีเสวนารับทราบปัญหาและร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาชุมชนชนคาร์บอนต่ำแบบมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ที่มุ่งเน้นการวิจัยภายใต้ศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” สู่กิจกรรมและแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจ และข้อตกลงของภาคีเครือข่ายชุมชน ที่สามารถขับเคลื่อนโดยภาคประชาชน ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีแผนการพัฒนาต่อยอดโครงการระยะที่ 2 ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม

 

เรียบเรียง/นายสามารถ สาลี
ภาพ/กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon