โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา เชียงราย ต้อนรับและนำเสนอผลการดำเนินโครงการ ต่อคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินงานโครงการภายใต้แผนงาน อพ.สธ. - มทร.ล้านนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2566 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

มทร.ล้านนา เชียงราย ต้อนรับและนำเสนอผลการดำเนินโครงการ ต่อคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินงานโครงการภายใต้แผนงาน อพ.สธ. - มทร.ล้านนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2566

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 1 มิถุนายน 2566 โดย นางสาวกิ่งกานต์ สาริวาท จำนวนผู้เข้าชม 221 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

                            วันที่ 1 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย นำโดย รองศาสตราจาร์วิเชษฐ  ทิพย์ปรเสริฐ ผู้ช่วยอธิการบดี เชียงราย พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย ดร.ณภัทร  ทิพย์ศรี ผู้อำนวยการกองการศึกษาเชียงราย คณาจารย์และบุคลากร ร่วมต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.มาลี  ตั้งระเบียบ ผู้อำนวยการกสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนากร  สร้อยสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการภายใต้แผนงาน อพ.สธ. - มทร.ล้านนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ได้รายงานการดำเนินโครงการทั้งหมด 5 โครงการประกอบด้วย 


1. โครงการศึกษาการเจริญเติบโตในสภาพแปลงปลูกน้อยหน่าเครือ ปีที่ 2 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิชัย จีนะวงษ์, อาจารย์สุจิตรา  จีนะวงษ์ 
2.โครงการภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากมันพื้นบ้าน ปีที่ 2 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิชัย จีนะวงษ์, อาจารย์สุจิตรา  จีนะวงษ์, และนางสาววรินยา  อุโมงค์
3. โครงการเครื่องบดละเอียดผงแป้งวัตถุดิบจากมันพื้นบ้าน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิติพงษ์  สมไชยวงศ์, อาจารย์สุจิตรา  จีนะวงษ์
4. โครงการพัฒนากระบวนการผลิตพลาสติกชีวภาพจากมันพื้นเมืองเพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติก โดย ดร.ปภาวดี  เนตรสุวรรณ 
5. โครงการการประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย โดย รองศาสตราจารย์วิเชษฐ  ทิพย์ประเสริฐ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร  ทิพย์ศรี,นางสาวปาริชาติ  วงค์ฉายาและนายสุทธิพงษ์  ยอดยา 

และในช่วงบ่ายได้ลงพื้นที่จริงที่ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ  เพื่อติดตาม บันทึกผล แนะนำ การดำเนินงานโครงการดังกล่าว เพื่อให้ผู้ดำเนินโครงการสามารถนำไปปรับใช้ และพัฒนาโครงการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon