เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 7 กรกฎาคม 2565 โดย นางสาวกิ่งกานต์ สาริวาท จำนวนผู้เข้าชม 707 คน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร ทิพย์ศรี ผู้อำนวยการกองการศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ร่วมต้อนรับคณะกรรมการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรฐกิจชุมชน นำโดย คุณอาภาพร สินธุสาร ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ, คุณเฉลิมพงษ์ กล้าขยัน นัดพัฒนานวัตกรรมอาวุโส ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, คุณวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการจัดอบรมโครงการ "อ้อยคั้นน้ำตั้งตัว" เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการส่งเสริมการนำวิทยาศษสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรฐกิจชุมชน พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการดำเนินขั้นต่อไป ณ สวนวิมานดิน ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
สำหรับการดำเนินงานของ โครงการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรฐกิจชุมชน ของ มทร.ล้านนา เชียงราย นี้ เริ่มจากเดิมจากชุมชนมีการปลูกอ้อยเพื่อคั้นเป็นน้ำอ้อยขายอยู่แล้ว แต่ยังขาดองค์ความรู้เรื่องการปลูกอ้อยแบบอินทรีย์ จึงทำให้ผู้บริโภคน้ำอ้อยขาดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ ขาดความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ชุมชน ยังขาดองค์ความรู้เรื่องกระบวนการการคั้นน้ำอ้อยและการเก็บรักษาน้ำอ้อยให้มีรสชาติ สี ที่เหมือนเดิม ในการผลิตน้ำอ้อยคั้น เมื่อคั้นเสร็จแล้วหากไม่ได้เก็บในอุณภูมิที่เย็นเหมาะสมในทันที ภายใน 2-3 ชั่วโมง จะทำให้รสชาติน้ำอ้อยมีรสเปรี้ยว และสีของน้ำอ้อยสดก็จะเปลี่ยนไป ทางงานคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา เชียงราย จึงได้ เชิญผู้เชี่ยวชาญในการปลูกพืชอินทรีย์ มาให้ความรู้แก่ชุมชน จนสามารถได้มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การส่งเสริมและให้ความรู้ระบบเก็บรักษาความเย็น เพื่อลดอุณภูมิน้ำอ้อยคั้นสดให้อยู่ที่ 0 - 4 องศาเซลเซียส มีแผงควบคุมแบบอัตโนมัติ แสดงอุณหภูมิแบบดิจิทัล โดยมีลักษณะคือ ทำให้สารซึ่งเป็นตัวกลางในการทำความเย็น (Refrigerant) เปลี่ยนสถานะด้วยการใช้ความร้อนแฝง เพื่อให้สารตัวกลางในการทำความเย็นเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอ จึงส่งผลให้บริเวณนั้นมีอุณหภูมิลดลง พัฒนาระบบการเก็บความเย็นแบบเดิมใหญ่ พัฒนาให้เป็นขนาดเล็กใช้ไฟฟ้ากระแสตรงแทนกระแสสลับ เพื่อง่ายต่อการใช้งานออกนอกสถานที่ นอกจากนี้ยังพัฒนาแบตรถยนต์ให้สามารถใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟที่สามารถใช้งานกับปลั๊กไฟฟ้าปกติได้
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา