โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด  อ่าน เขียนภาษาไทย (Mobility of Volunteer educations : MOVE) พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

มทร.ล้านนา ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียนภาษาไทย (Mobility of Volunteer educations : MOVE) พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 31 ตุลาคม 2565 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 1147 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันที่ 27-28 ตุลาคม พ.ศ. 2565 อาจารย์ ดร.รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา อาจารย์สังกัดสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร และเจ้าหน้าที่แผนงานใต้ร่มพระบารมี ร่วมกับคณาจารย์ มทร.ล้านนาเชียงราย ดำเนินงานขับเคลื่อนงานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการอ่าน พูด เขียน ภาษาไทย
ของนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร บนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการพระราชดำริ (MOVE) ภายใต้การดำเนินโครงการสืบสานต่อยอดและติดตามเพื่อขับเคลื่อนงานโครงการตามพระราชดำริสำหรับคนทุกช่วงวัย เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงเรียนในโครงการ (Mobility of Volunteer educations : MOVE) พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมร่วมประชุมหารือร่วมกับผู้บริหาร ของโรงเรียนในโครงการ ( MOVE) แต่ละแห่ง ประเด็นเรื่อง การเรียนการสอนภาษาไทย การพัฒนาทักษะอาชีพต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียนที่มุ่งสู่การเรียนการสอนฐานอาชีพ รวมกับพบครูประจำ ครูอาสามสมัครและนักเรียนฯ เพื่อประเมินความสามารถในการใช้ภาษาไทย

โดยมีกำหนดการดำเนินงานขับเคลื่อนงานส่งเสริมและพัฒนา พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีดังนี้

  • วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2565 โรงเรียนบ้านแม่สวด ต.แม่สวด อ.สบเมย
    คณะทำงานฯ เข้าพื้นที่โรงเรียน ร่วมประชุมหารือกับรองผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครูประจำโรงเรียน และครูอาสาสมัครช่วยสอน ประเด็นเกี่ยวกับปัญหาการสื่อสารภาษาไทย และการใช้สื่อการสอนภาษาไทย พร้อมประเมินศักยภาพการใช้ภาษาไทยเด็กนักเรียนรายบุคคล
     
  • วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต
    คณะทำงานเข้าร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินงานการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียนภาษาไทย ร่วมกับคณะทำงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะทำงานสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เขต 2 และครูประจำโรงเรียน รวมถึงครูอาสาสมัครช่วยสอน ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยได้แลกเปลี่ยนการใช้เครื่องมือและกระบวนการเพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนพัฒนาการ อ่าน พูด เขียน ภาษาไทย ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ชัดเจน ไทยแท้
    ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแนวทางดำเนินงาน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อการพัฒนาแก้ปัญหาการอ่าน เขียนภาษาไทยให้เกิดผลสำเร็จที่สุด

 

ภาพ/เรียบเรียง วรรธพงศ์  เทียนนิมิตร







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon