เผยแพร่เมื่อ : เสาร์ 20 พฤศจิกายน 2564 โดย นางสาวกิ่งกานต์ สาริวาท จำนวนผู้เข้าชม 454 คน
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนากร สร้อยสุวรรณ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิชัย จีนะวงษ์ ผู้อำนวยการกองการศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้ว ให้แก่มหาวิทยาลัย) เฟส 1 มทร.ล้านนา เชียงราย ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของ U2T ตำบลศรีถ้อย บ้านป่ายางมิ้น อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
สำหรับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้ว ให้แก่มหาวิทยาลัย) เฟส 1 มทร.ล้านนา เชียงราย ณ ตำบลศรีถ้อย บ้านป่ายางมิ้น อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ได้มีการดำเนินโครงการด้านการส่งเสริมการเกษตร ซึ่งได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อศึกษา ปัญหาของชุมชน พบว่า ต.ศรีถ้อย เป็นพื้นที่ห่างไกลจากสถานที่อำนวยความสะดวก แม้กระทั้งสัญญาณโทรศัพท์ ณ บริเวณนั้นก็จะมาเป็นพักๆ และมีเพียงเครือข่ายเดียวเท่านั้น อีกทั้งสาธารณูปโภคพื้นฐาน ก็ยังขาดความสมบูรณ์ ทางมหาวิทยาลัยฯ จึงได้เข้าไปช่วยเหลือทางด้านการเพิ่มมูลค่าของสินค้าการเกษตรเป็นอันดับแรก โดยเริ่มจาก
- การออกแบบแพ็คเกจของผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นบ้าน ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้นเหมาะกับการนำไปเป็นของฝาก ของที่ระลึก โดยจัดเซตสินค้าโดยนำเอาความรู้ด้านการจักสานมาช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์ดูมีมูลค่ามากยิ่งขึ้น
- การส่งเสริมให้ออกแบบเแพ็คเกจของการทำไข่เค็ม จากเดิมที่ใส่ถุงขายในตลาดทั่วไป เปลี่ยนเป็นการออกแบบในรูปแบบที่สามารถนำไปขึ้นห้างสรรพสินค้าได้
- การนำเอาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาแปรรูปให้สามารถขยายช่องทางทางการตลาด ร่วมทั้งสามารถเก็บสินค้าได้ในระยะเวลานาน เช่น การทำนำพริกปลาร้าแห้ง น้ำพริกกนรกกุ้ง ที่ทำจากกุ้งน้ำจืดที่สามารถหาได้จากแหล่งน้ำในหมู่บ้าน การแปรรูปเห็ดให้เป็นน้ำพริกเห็ดนางฟ้า
- การส่งเสริมให้ออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่แตกต่างจากสินค้าตามท้องตลาดทั่วไป ด้วยการเปลี่ยนแปลงรูปทรงทองม้วนให้เป็นรูปหมวกที่จากเดิมเป็นทรงกระบอกและตั้งชื่อของสินค้าให้เกิดความโดดเด่นว่า ทองหมวก
- นอกจากนี้ยังส่งเสริมใหม่มีการทำผลิตภัณฑ์กล้วยตากด้วยแสงยูวี ทำให้สินค้าที่ได้นั้น มีสีที่สวยงาม และออกแบบแพ็คเกจที่ทันสมัยทำให้เกิดความต้องการซื้อ
- นอกจากที่ม U2T ต.ศรีถ้อย ยังได้เล็งเห็นถึงการขาดแคลนแหล่งน้ำดืมที่สะอาด จึงได้เข้าไปช่วยเหลือในการซื้อ เครื่องกรองน้ำให้กับชุมชนเพื่อใช้ในกรณีเร่งด่วนและคาดการณ์ว่าจะพัฒนาเครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพและต้นตำให้กับหมูบ้าน
- การส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งด้วยการออกแบบ กล่องที่ใช้เลี้ยงผึ้งโก๋น ซึ่งผึ้งโก๋นเป็นผึ้งชนิดมีอยู่ตามธรรมชาติแข็งแรงและหากินน้ำหวานได้เก่ง โดยมีรัศมีการบินหาน้ำหวานไกลถึง 4 กิโลเมตร และหากรู้สึกไม่ปลอดภัยผึ้งโก๋นก็จะทิ้งรังของมันทันทีตามธรรมชาติทำให้สามารถเก็บน้ำหวานได้ง่าย อีกทั้งเมื่อจำนวนประชากรผึ้งมากเกินไปก็จะแยกรังทันที ทำให้การขยายรังของผึ้งโก๋นนั้นทำได้ง่าย
นี้เป็นเพียงบางส่วนในการเข้าไปช่วยพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น โดยผ่านโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้ว ให้แก่มหาวิทยาลัย) เฟส 1 หรือ U2T เท่านั้น มหาวิทยาลัยฯ ยังได้เข้าไปช่วยในเรื่องอื่นที่ยังไม่ได้พูกถึงอีก คาดการณ์ว่าโครงการ U2T นี้จะมีการต่อยอดในส่วนที่ชุมชนยังต้องการความช่วยเหลือต่อไป
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา