โลโก้เว็บไซต์ ขอแสดงความยินดีกับทีมคณาจารย์ มทร.ล้านนา เชียงราย U2T ตำบลสันกลาง สามารเข้ารอบ 5 สุดยอดตัวแทนภาคเหนือ เข้าแข่งระดับประเทศต่อ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

ขอแสดงความยินดีกับทีมคณาจารย์ มทร.ล้านนา เชียงราย U2T ตำบลสันกลาง สามารเข้ารอบ 5 สุดยอดตัวแทนภาคเหนือ เข้าแข่งระดับประเทศต่อ

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 5 กรกฎาคม 2564 โดย นางสาวกิ่งกานต์ สาริวาท จำนวนผู้เข้าชม 1666 คน

(1) ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

สุดยอด อาจารย์ มทร.ล้านนา เชียงราย เข้ารอบ 5 ทีม สุดยอดตัวแทนภาคเหนือ ในการแข่งขัน U2T Hackathon ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน) เข้าแข่งระดับประเทศต่อ

                 อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย นำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. รัตนาภรณ์ นรรัตน์ นำทีมงาน U2T ตำบลสันกลาง อ.พาน จ.เชียงราย (ทีม Nile Creek Rescue) ตำบลในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  เข้าร่วมแข่งขัน U2T HACKATHON ในระดับภาคเหนือตอนบน และสามารถเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้าย ได้รับรางวัล 50,000 บาท เข้ารอบแข่งขันในระดับประเทศต่อไป ณ ณ โรงแรม M2 Hotel Waterside จังหวัดพะเยา

                 สำหรับการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ มีทีมที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันในระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) มากถึง 195 ทีม และผ่านการคัดเลือกรอบแรก ทั้งหมด 22 ทีม และคัดเลือกให้เหลือเพียง 5 ทีม ประกอบด้วย
                 - ทีม Rice is Life มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                 - ทีม Nile Creek Rescue มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย
                 - ทีม My straw House มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
                 - ทีม น้ำอ้อยป่าตุ้ม มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ 
                 - ทีม มุส่าโต่ ห่อทีหล่ม มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ซึ่งจะได้รับเงินรางวัลเงินสด จำนวน 50,000 บาท พร้อมเป็นตัวแทนระดับภาคเหนือตอนบนเข้าแข่งขันในระดับประเทศ อีก 40 ทีม ซึ่งจะถูกคัดเลือกทีมที่ดีที่สุดระดับประเทศเพียง 5 ทีมเท่านั้น เพื่อชิงเงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมรับโล่เชิดชูเกียรติเพื่อต่อยอดและพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมชุมชนในต่อไป   โดยการแข่งขันดังกล่าวเป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาทักษะแก่ผู้เข้าร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ)  ที่เปิดโอกาสให้ผู้ได้รับการจ้างงานได้ระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์บนปัญหาและความต้องการในพื้นที่จริงกว่า 3,000 ตำบลทั่วประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาด้านนวัตกรรม ที่ตอบโจทย์กับบริบทในพื้นที่ ผ่านการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในชุมชน (Community-integrated Learning) ภายใต้โจทย์ “แนวทางแก้ปัญหา (Solution) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน Creative Economy, ด้าน Technology/Health Care, ด้านCircular Economy และด้าน Art and Culture

                    โดยโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T เป็นโครงการของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนเศรฐกิจในช่วงที่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ที่สร้างผลกระทบให้กับประชาชน ทั้งทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ การทำงาน รวมทั้งบัณฑิตที่ตกงานและกำลังจะจบการศึกษา ในปี 2564 นี้ ทางรัฐบาลนำโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงได้ทำโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือเรียกสั้นๆ ว่า U2T เป็นโครงการที่สร้างอนาคตให้กับ 3,000 ตำบลทั่วประเทศ รวมทั้งสร้างอนาคต สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับนักศึกษาและประชาชน 60,000 คน ที่ อว.จ้างงาน โดยแบ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 3 ปี 30,000 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 จำนวน 15,000 คน และประชาชนอีก 15,000 คน ได้รับการจ้างงานและลดความเดือนร้อนของภาคประชาชนที่เกิด โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราราชมงคลล้านนา ได้เป็น 1 ใน 76 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยได้รับนโยบายจากภาครัฐ ซึ่งนำคณาจารย์และนักศึกษา ร่วมระดมความคิด แรงกายและแรงใจ ดำเนินโครงการ โดยโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) หรือ U2T นี้ นอกจากจะเหลือบัณฑิตที่ตกงานแล้วยังเป็นการกระจายความรู้ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย ใช่พัฒนาสังคม เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาพัฒนาบ้านเกิดอีกด้วย

 

ขอขอบคุณภาพ จากมหาวิทยาลัยพะเยา







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon