โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา เชียงราย จับมือภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์เรียนรู้ “Smart Fish & Farm” ขับเคลื่อน BCG Model สู่ชุมชน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

มทร.ล้านนา เชียงราย จับมือภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์เรียนรู้ “Smart Fish & Farm” ขับเคลื่อน BCG Model สู่ชุมชน

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 18 กรกฎาคม 2568 โดย นางสาวกิ่งกานต์ สาริวาท จำนวนผู้เข้าชม 15 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

                              เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 เวลา 08.30 น. นางสาวหฤทัยรัตน์ จันต๊ะคาด อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ วิชาเอกวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงราย หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงราย ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลธารทอง อำภอพาน จังหวัดเชียงราย และ ภาคีเครือข่าย

                              จัดกิจกรรมเปิดศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลธารทอง ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรมภายใต้ องค์กรชุมชมประมงท้องถิ่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำเศรษฐกิจ "Chiang Rai Smart Fish & Farm Experience" อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

                              โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก นายพัว ทองเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลธารทอง เป็นประธานในพิธี พร้อมกล่าวถึงนโยบายการขับเคลื่อนศักยภาพชุมชนโดยใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านผสานนวัตกรรม สร้างรายได้ให้ชุมชน มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น ด้วยแนวคิด BCG สู่สากล

การจัดโครงการครั้งนี้ เกิดจากความเข้มแข็งและการทำงานเชื่อมโยงกันของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ดังนี้

  1. องค์การบริหารส่วนตำบลธารทอง อำภอพาน
  2. สำนักงานประมงอำเภอพาน โดย นายอายุวัฒน์ นิลศรี ประมงอำเภอพาน
  3. สำนักงานเกษตรอำเภอพาน โดย นางสาวเจนจิรา อินทะเทพ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
  4. เครือข่ายเกษตรกรเพาะเลี้ยงพืชน้ำเศรษฐกิจและเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืด ในตำบลธารทอง ตำบลทรายขาว และตำบลสันมะเค็ด และกลุ่มวิสาหกิจที่สนใจจาก ตำบลเจริญเมือง

เป้าหมายการทำงานขององค์กรชุมชมประมงท้องถิ่น ดังนี้

  1. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG Model สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
  2. มุ่งพัฒนา "บ่อปลาในสวนเกษตร" ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ด้วยหลัก “Smart Model”
  3. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างชาญฉลาด
  4. มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ จากปราชญ์ชุมชน ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  5. สร้างต้นแบบนวัตกรรมเศรษฐกิจชุมชน ที่ผสานการผลิต การแปรรูป และการท่องเที่ยวไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน
  6. ยกระดับประมงพื้นบ้านด้วยการส่งเสริมจากภาคีเครือข่าย สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าประมงที่ตรงความต้องการของตลาด ควบคู่การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน

                              โดย ทางกลุ่มฯ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการส่งเสริมการแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เช่น ไข่ผำอบแห้ง, เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเสริมโปรตีนจากไข่ผำ, ผงโปรตีน Plant-based, สบู่ไข่ผำ ฯลฯ ด้วยความร่วมมือระหว่างสมาชิกชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน กลุ่ม Chiang Rai Smart Fish & Farm Experience จึงเป็นต้นแบบของการพัฒนาชุมชนด้านประมงและเกษตรแบบบูรณาการที่ทันสมัยและสอดคล้องกับนโยบายระดับชาติและระดับจังหวัด ทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจในทรัพยากรท้องถิ่น มุ่งขยายผลและสร้างความยั่งยืนให้ชุมชน ตลอดจนเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

            







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon