โลโก้เว็บไซต์ RDi RMUTL นำทีมนักวิจัยเข้าร่วมการประชุมเครือข่ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประจำปี 2567  | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

RDi RMUTL นำทีมนักวิจัยเข้าร่วมการประชุมเครือข่ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประจำปี 2567 

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 21 พฤศจิกายน 2567 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 73 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

RDi นำทีมนักวิจัยเข้าร่วมการประชุมเครือข่ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ประจำปี 2567

TSRI Research and Development Personnel Network Forum 2024, 

TSRI-RDP2024: Preparing Today for Tomorrow’s Challenges

SRI For All:

Enpowering all SRI organizations to achieve more and leap Thailand forword

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา นำทีมนักวิจัย เข้าร่วมการประชุมเครือข่ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประจำปี 2567 (TSRI Research and Development Personnel Network Forum 2024, TSRI-RDP2024: Preparing Today for Tomorrow’s Challenges) ระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรม เดอะ รีเจ้นท์ ชะอำ บีช รีสอร์ท จังหวัดเพชรบุรี จัดงานโดย กลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านกำลังคนและสถาบันความรู้ (O-Brian) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)

และคณะนักวิจัยเข้าร่วมนำเสนอผลงาน 6 ท่าน ประกอบด้วย

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิระพงศ์ ลือชัย เรื่อง "โครงการระบบโดรนรับส่งอัจฉริยะสนับสนุนเมืองแห่งอนาคต" ทุนวิจัย Fundamental Fund ปี 2565
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ เกียรติดำรงค์กุล เรื่อง "โครงการการศึกษาการใช้ประโยชน์จากสารสกัดจากเซลล์ต้นกำเนิดของข้าว"  ทุนวิจัย Fundamental Fund ปี 2565
  3. ดร.ศศิพัชร สันกลกิจ เรื่อง "โครงการนวัตกรรมส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวชาติพันธุ์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจบนฐานท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์" ทุนวิจัย Fundamental Fund ปี 2565
  4. ดร.ถาวร อินทโร เรื่อง "การสร้างเซ็นเซอร์กราฟีนแบบโค้งงอได้สำหรับตรวจวัดสารกำจัดศัตรูพืชจากการเกษตร" ทุนวิจัย Fundamental Fund ปี 2566
  5. ดร.พีรธรรม เตชะพะโลกุล เรื่อง "การศึกษาการใช้คลังข้อมูลวิจัยสถาบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลงานวิจัยถาวรและการจัดการ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา"  ทุนวิจัย Fundamental Fund ปี 2566
  6. ดร.นวรัตน์ พรหมอุปถัมภ์  เรื่อง "โครงการการพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยการบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่" ทุนวิจัย Fundamental Fund ปี 2565

TSRI Research and Development Personnel Network Forum 2024, 

TSRI-RDP2024: Preparing Today for Tomorrow’s Challenges

กิจกรรมภายในงาน วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ประกอบด้วย

  • ปาฐกถา “จุดประกายนักวิจัยรุ่นใหม่ สู่เครือข่ายความร่วมมือเพื่ออนาคตชาติ” โดย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
  • บรรยายพิเศษ "ขับเคลื่อนอนาคตไทยด้วย ววน. : ปลดล็อกศักยภาพ เร่งผลิตและพัฒนากำลังคน รองรับการลงทุนใหม่เพื่อยกระดับประเทศ" โดย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.)
  • เสวนา “สถานการณ์ปัจจุบันและทิศทางอนาคตของ กองทุนส่งเสริม ววน. ร่วมกับ กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา" โดย ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) และปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผู้ดำเนินรายการ ผศ.ดร.ชินวุธ พิพัฒน์ภานุกูล
  • เสวนา "เสวนาทิศทางการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” โดย ผู้แทนสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) ผู้แทนสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผู้แทนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
  • กิจกรรม Highlight (1) Fashion Soft Power Thailand: Powered by ววน. และ (2) การแข่งขัน PMU One Hour Hackathon โดย คณะกรรมการตัดสินการแข่งขัน ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผู้แทนกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
  • การนำเสนอ Poster Presentation

ประเทศไทยกำลังมุ่งสู่การเป็นสังคมฐานนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาจึงกลายเป็นกลไกสำคัญใน การขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ตามนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนากำลังคน มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนากำลังคนทักษะสูง ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศในยุคปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะในสาขาที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) รวมถึงสาขาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะศาสตร์ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมที่ยั่งยืน และนโยบายประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาศักยภาพกำลังคนทักษะสูงและนักวิจัยรุ่นใหม่ โดยมุ่งเน้นการสร้างโอกาสและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตทางวิชาการและวิชาชีพ การส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความรู้ผ่านการสนับสนุนทุนวิจัย โครงการฝึกอบรม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้พัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ การเชื่อมโยงงานวิจัยกับภาคอุตสาหกรรมและสังคม โดยสนับสนุนให้นักวิจัยรุ่นใหม่ทำงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสังคม และสร้างกลไกในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง
กลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านกำลังคนและสถาบันความรู้ สกสว. ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. และประธาน กสว. ร่วมกันสร้าง “ระบบนิเวศวิจัยและนวัตกรรม” ที่เข้มแข็ง โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยรุ่นใหม่กับนักวิจัยอาวุโส ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ตามวัตถุประสงค์ “ส่งเสริมการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของประเทศ” และ “ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานอื่นของรัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาระดับชุมชนและพื้นที่” การจัดงานการประชุมเครือข่ายบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเจเนอเรชันของนักวิจัยไทยผ่านสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การพบปะและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิจัยรุ่นใหม่และนักวิจัยอาวุโส จะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการต่อยอดงานวิจัยที่มีศักยภาพสูง พัฒนาทักษะและความรู้ให้นักวิจัยรุ่นใหม่จะได้รับโอกาสในการเรียนรู้เทคนิคการวิจัย การเขียนบทความวิชาการ การนำเสนอผลงาน และการสร้างเครือข่ายจากนักวิจัยอาวุโสผู้มากประสบการณ์ ส่งเสริมวัฒนธรรมการวิจัย โดยงานประชุมนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและปลูกฝังจิตสำนึกในการทำวิจัยให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ ตลอดจนสร้างความตระหนักถึงบทบาทของการวิจัยในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศ เร่งสร้างผลงานวิจัยใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างบรรยากาศ การพบปะและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิจัยรุ่นใหม่ นักวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญในสายงานนั้นๆ เพื่อนำไปสู่เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการต่อยอดงานวิจัยที่มีศักยภาพสูง
2. เพื่อส่งเสริมเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบัน/ศูนย์วิจัยในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย และหน่วยงานภาครัฐ สนับสนุนการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนางานวิจัย การพัฒนากำลังคนทักษะสูง และสามารถนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์
3. เพื่อสื่อสารนโยบายไปสู่นักวิจัยรุ่นใหม่ นักวิจัยอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญในสายงานนั้นๆ เพื่อพัฒนากลไก มาตรการที่หนุนเสริมศักยภาพของกำลังคนทักษะสูง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon