โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านา เชียงราย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน นี้คืออีกหนึ่งความภาคภูมิใจ :ความรู้สู่ยอดดอย : Localist ชีวิตนอกกรุง ทางช่อง ThaiPBS | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

มทร.ล้านา เชียงราย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน นี้คืออีกหนึ่งความภาคภูมิใจ :ความรู้สู่ยอดดอย : Localist ชีวิตนอกกรุง ทางช่อง ThaiPBS

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 9 มีนาคม 2563 โดย นางสาวนันทิยา ตุลเตมีย์ จำนวนผู้เข้าชม 2056 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

                     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชน โดยการเข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือชุมชนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยั่งยืน โดยอาจารย์สุภัทรจิตต์  มะโนสด อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ได้ร่วมช่วยเหลือและพัฒนาจากกาแฟกะลา สู่กาแฟคั่วคุณภาพ ของ ชุมชนเผ่าอาข่า บ้านปางขอน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เดิมเป็นชุมชนที่มีพื้นที่ปลูกกาแฟ 3,000 ไร่ เมล็ดกาแฟที่สามารถเก็บได้มีมากกว่า 200,000 กิโลกรัมต่อปี แต่ยังขาดความรู้ในการสร้างคุณค่าของผลผลิต การบริหารจัดการกลุ่ม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย จึงได้เข้าไปช่วยในการให้ความรู้ในการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยเริ่มจากการจัดโครงสร้าง โดยแบ่งตามความถนัดของแต่ละบุคลล การสร้างกฎระเบียบของกลุ่ม ให้ความรู้เรื่องการจัดการต้นทุน กำไร การทำบัญชีครัวเรือนร่ายรับ-ร่ายจ่าย การทำการตลาด บรรจุภัณฑ์ และการผลิตเครื่องขัด-ล้าง-สี-หมัก เมล็ดกาแฟ คั่วเมล็ดกาแฟ เพื่อช่วยลดต้นทุนที่ต้องไปจ้างโรงงานคั่ว นอกจากนี้ยังได้เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพของผลผลิตให้มีคุณภาพดีมากยิ่งขึ้น โดยได้แนะนำขั้นตอนต่างๆ ในการเก็บ ระยะเวลาในการจัดการเมล็ดกาแฟ ซึ่งจากเดิมเมล็ดกาแฟที่เก็บได้นั้น ชุมชนจะไม่ได้นำเมล็ดกาแฟที่เก็บได้ไป ขัด-ล้าง-สี-หมัก-ตาก ในทันทีทำให้รสชาติของกาแฟไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น

                  ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฯ เข้ามาช่วยเหลือในการสร้างแบรน โดยเริ่มจากการสร้างโลโก้ให้กับผลิตภัณฑ์  โดยที่โลโก้นั้นจะต้องสามารถถ่ายทอดและสื่อได้ถึงความเป็นตัวตนของชุมชน โดยเป็นการออกแบบจากคณาจารย์และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยฯ จากการระดมแนวความคิดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ่านการคัดกรองและแนะนำแก้ไขเพิ่มเติมจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านปางขอนเอง







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา