โลโก้เว็บไซต์ สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์


สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ (Bachelor of Engineering Program in Logistics)

หลักสูตร
  ภาษาไทย :

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์

  ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Logistics
 
ปริญญา
  ภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโลจิสติกส์)
  ภาษาอังกฤษ :

Bachelor of Engineering (Logistics)

 
ปรัชญาของหลักสูตร
  ผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบของโลจิสติกส์และโซ่ อุปทาน และรองรับการเปลี่ยนแปลงทางพลวัต
 
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. เพื่อผลิตวิศวกร ระดับปริญญาตรี ที่มีความรู้ ความชำนาญเชิงปฏิบัติการและ ออกแบบด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์และโซ่ อุปทาน
  2. เพื่อสร้างผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ ตอบสนองความต้องการในงานด้านโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน
  3. เพื่อผลิตวิศวกรมีทักษะด้านการควบคุม การออกแบบ และวิเคราะห์ เกี่ยวกับงานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
 
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
  1. หลักสูตร 4 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายชั้นปีที่ 6 แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชชีพ(ปวช.)สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมทุกสาขา
  2. หลักสูตรเทียบโอน ผู้สำเร็จการศึกาาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)สาขาวิชา ช่างกลโรงงาน เทคนิคอุตสาหกรรม เทคนิคการผลิต ช่างเชื่อมโลหะ
 
แนวทางการประกอบอาชีพ
 

1. ผู้จัดการโครงการ ผู้จัดการโรงงาน และผู้บริหารหน่วยงาน

 

2. วิศวกรออกแบบระบบงานโลจิสติกส์ วิศวกรวางแผนการผลิต ออกแบบคลังสินค้า

 

3. วิศวกรควบคุมคุณภาพ

 

4. วิศวกรออกแบบและวางระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร

 

5. อาจารย์

 
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   72,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา   9,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน         4,500 บาท
 
โครงสร้างหลักสูตร จำนวน 148 หน่วยกิต
 
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป   30 หน่วยกิต
  1. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
  2. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  3 หน่วยกิต
  3. กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ  2 หน่วยกิต
  4. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ – บังคับ   2 หน่วยกิต
  5. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ – เลือก 2 หน่วยกิต
  6. กลุ่มวิชาภาษา-วิชาภาษาตะวันตกบังคับ  9 หน่วยกิต
  7. กลุ่มวิชาภาษา-วิชาภาษาตะวันตกเลือก  3 หน่วยกิต
  8. กลุ่มวิชาภาษา-วิชาภาษาตะวันออกบังคับ  3 หน่วยกิต
  9. กลุ่มวิชาภาษา-วิชาภาษาตะวันออกเลือก  3 หน่วยกิต
     
หมวดวิชาเฉพาะ 112 หน่วยกิต
  1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 38 หน่วยกิต
  2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 53 หน่วยกิต
  3. กลุ่มวิชาชีพเลือก 21 หน่วยกิต
 
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
     

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา