โลโก้เว็บไซต์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา


สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering)

หลักสูตร
  ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering
 
ปริญญา
  ภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)
  ภาษาอังกฤษ :

Bachelor of Engineering (Civil Engineering)

 
ปรัชญาของหลักสูตร
  มุ่งมั่นพัฒนาวิชาการควบคู่กับจริยธรรม เพื่อผลิตวิศวกรนักปฏิบัติการที่มีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และพึ่งพาตนเองได้
 
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. เพื่อผลิตวิศวกรโยธานักปฏิบัติที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ และนวัตกรรมสู่วิสาหกิจชุมชน
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรมโยธา
  3. เพื่อให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ไปพัฒนาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เพื่อฝึกให้บัณฑิตวิศวกรโยธาเป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความสำนึกในจรรยาบรรณในวิชาชีพ
 
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
  1. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียน(วิทย์-คณิต ) หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างก่อสร้าง ช่างโยธา ช่างสำรวจ ช่างเทคนิค สถาปัตยกรรม สาขาวิชาเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ หรือเทียบเท่า
  2. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างก่อสร้าง ช่างโยธา ช่างสำรวจ เทคนิคขนส่ง การบริหารงานก่อสร้าง และช่างเขียนแบบโยธาหรือเทียบเท่า โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และที่ประกาศเพิ่มเติม
 
แนวทางการประกอบอาชีพ
  1. รับราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ หน่วยราชการเกือบทุกแห่งที่มีงานด้านขนส่งและงานวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น กรมทางหลวง การไฟฟ้า วิศวกรจราจรประจำเทศบาล องค์การโทรศัพท์ กรมชลประทาน และกรมโยธาธิการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถประกอบอาชีพเป็นครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องได้ด้วย
  2. หน่วยงานด้านการขนส่ง ในบริษัทหรือองค์กรที่ทำงานด้านการวางแผน การจัดการ การดำเนินงานระบบขนส่งมวลชน การแก้ไขปัญหาการจราจร การคมนาคมขนส่ง เช่น องค์การรถไฟฟ้ามหานคร ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ บริษัทการบินไทย บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาทำหน้าที่ศึกษาความเป็นไปได้ และแก้ปัญหาด้านจราจร
  3. ธุรกิจก่อสร้าง โดยเฉพาะในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น การก่อสร้างทางด่วนรถไฟฟ้า ท่าเรือ หรือสนามบิน และในโครงการก่อสร้างขนาดเล็ก เช่น อาคารโรงงาน บ้านพักอาศัย ถนน สะพาน โดยสามารถอยู่ในธุรกิจได้ทั้งในรูปแบบของเจ้าของงาน วิศวกรที่ปรึกษา วิศวกรหรือผู้รับเหมาก่อสร้าง
 

4. งานส่วนตัว วิศวกรที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง จะสามารถประกอบอาชีพภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธา สามารถประกอบอาชีพส่วนตัวได้หลาย ๆ รูปแบบ ทั้งเป็นเจ้าของงาน วิศวกรที่ปรึกษา ผู้รับเหมา ซึ่งจะเป็นผู้รับรองการออกแบบ หรือการคำนวณในลักษณะของวิชาชีพวิศวกรควบคุมต่าง ๆ ได้ และเนื่องจากรูปแบบอาชีพเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นปัจจัยหลักของชีวิต ดังนั้น แนวทางอาชีพอิสระจึงมีหลากหลายมาก

 
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   72,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา   9,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน         4,500 บาท
 
โครงสร้างหลักสูตร จำนวน 149 หน่วยกิต
 
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป   31 หน่วยกิต
  1. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
  2. กลุ่มวิชาภาษา-วิชาภาษาตะวันตก 12 หน่วยกิต
  3. กลุ่มวิชาภาษา-วิชาภาษาตะวันออก 3 หน่วยกิต
  4. กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ 2 หน่วยกิต
  5. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ – บังคับ   3 หน่วยกิต
  6. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ – เลือก 2 หน่วยกิต
  7. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์-คณิตศาสตร์  3 หน่วยกิต
  8. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์  3 หน่วยกิต
     
หมวดวิชาเฉพาะ 112 หน่วยกิต
  1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 50 หน่วยกิต
  2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 53 หน่วยกิต
  3. กลุ่มวิชาชีพเลือก 9 หน่วยกิต
   
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
     

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา