โลโก้เว็บไซต์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์


สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Bachelor of Engineering Program in Computer Engineering)

หลักสูตร
  ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Computer Engineering
 
ปริญญา
  ภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) / วศ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
  ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering (Computer Engineering) / B.Eng. (Computer Engineering)
 
ปรัชญาของหลักสูตร
  มุ่งพัฒนาวิชาการควบคู่กับจริยธรรม เพื่อผลิตวิศวกรนักปฏิบัติที่มีความรู้ ความสามารถ เชี่ยวชาญ ทางด้านเทคโนโลยี มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และพึ่งพาตัวเองได้
 
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. มีความสามารถในการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่มีคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน
  2. มีความสามารถในการใช้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  3. มีความรับผิดชอบในการทำงานของตนเองที่มีผลกระทบต่อสาธารณชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม และคำนึงถึงความปลอดภัย ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในระบบ
  4. มีจรรยาบรรณ เคารพสิทธิส่วนบุคคล ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร
  5. มีความรู้วิชาแกนของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ครบถ้วนในระดับการทำงานของระบบ
  6. มีประสบการณ์ การออกแบบ สร้าง ผลงาน จากการทำโครงงานวิศวกรรมอย่างน้อยหนึ่งโครงการ
  7. มีทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่นและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
 
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
  1. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สายช่างอุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้า สาขาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาเทคนิคคอมพิวเตอร์ หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ หรือเทียบเท่าสาขาที่ระบุ
  2. ผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สายช่างอุตสาหกรรม สาขาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์ หรือเทียบเท่าสาขาที่ระบุ โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม
 
แนวทางการประกอบอาชีพ
  1. อาชีพด้านราชการ ตัวอย่างเช่น นักวิชาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  2. อาชีพด้านรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างเช่น นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ดูแลระบบเครือข่าย วิศวกรที่ปรึกษา เป็นต้น
  3. อาชีพด้านบริษัทเอกชน ตัวอย่างเช่น นักโปรแกรม ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาเว็บไซต์ ผู้จัดการซอฟต์แวร์ เป็นต้น
 
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร      72,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา     9,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน             4,500 บาท
 
โครงสร้างหลักสูตร จำนวน 145 หน่วยกิต
 
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    31 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์ 3 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาภาษา-ภาษาตะวันตก 3 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาภาษา-ภาษาตะวันออก 3 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ 2 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์-บังคับ 3 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์-เลือก 2 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์-คณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ 3 หน่วยกิต
     
หมวดวิชาเฉพาะ    108 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 31 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาชีพบังคับ 53 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาชีพเลือก 24 หน่วยกิต
     
หมวดวิชาเลือกเสรี   6 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา