โลโก้เว็บไซต์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม


สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม (Bachelor of Science in Technical Education Program in Electronic Engineering and Telecommunication)

หลักสูตร
  ภาษาไทย : หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม (5 ปี)
  ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science in Technical Education Program in Electronic Engineering and Telecommunication
 
ปริญญา
  ภาษาไทย : ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม)
  ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science in Technical Education (Electronic Engineering and Telecommunication)
 
ระยะเวลาของหลักสูตร
  ศึกษาปกติ 5 ปี ไม่เกิน 10 ปี
 
ปรัชญาของหลักสูตร
  มุ่งผลิตครูวิชาชีพที่มีมาตรฐานสมรรถนะ พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรม และเป็นผู้นำในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ
 
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. เพื่อปลูกฝังให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม สำนึกในจรรยาบรรณวิชาชีพ รับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานความรู้และสมรรถนะ มีทักษะทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมที่สามารถปฏิบัติงานในสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษาและการศึกษาขั้น-พื้นฐานในภาครัฐและเอกชน
  3. เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตเป็นผู้ที่สามารถบูรณาการใช้ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมอย่างเป็นระบบ
  4. เพื่อปลูกฝังให้บัณฑิตเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
  5. เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตสามารถศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
 
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
  1. รับผู้สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สายช่างอุตสาหกรรม ได้แก่ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์สื่อสาร ช่างโทรคมนาคม เตรียมวิศวกรรมศาสตร์หรือเทียบเท่า หรือผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
  2. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สายช่างอุตสาหกรรม ได้แก่ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์สื่อสาร ช่างโทรคมนาคม หรือเทียบเท่า โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม
 
แนวทางการประกอบอาชีพ
  1. ครูอาชีวศึกษาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
  2. ผู้ให้ความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
  3. วิศวกรและนักเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
 

4. นักวิชาการและวิจัยทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

  5. นักวิเคราะห์ ออกแบบ และดูแลระบบทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
  6. นักบริหารทางด้านวิชาชีพ
 
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   64,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา    8,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน            4,000 บาท
 
โครงสร้างหลักสูตร จำนวน 165 หน่วยกิต
 
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป   31 หน่วยกิต
  1. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
  2. กลุ่มวิชาภาษา-วิชาภาษาตะวันออก 3 หน่วยกิต
  3. กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ 2 หน่วยกิต
  4. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ – บังคับ   3 หน่วยกิต
  5. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ – เลือก 2 หน่วยกิต
  6. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์-คณิตศาสตร์  3 หน่วยกิต
  7. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์  3 หน่วยกิต
  8. กลุ่มวิชาภาษา-วิชาภาษาตะวันตกบังคับ  9 หน่วยกิต
  9. กลุ่มวิชาภาษา-วิชาภาษาตะวันตกเลือก  3 หน่วยกิต
     
หมวดวิชาเฉพาะ 128 หน่วยกิต
  1. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 42 หน่วยกิต
  2. กลุ่มวิชาชีพเลือก 15 หน่วยกิต
  3. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ-ทางวิทย์และคณิต  9 หน่วยกิต
  4. กลุ่มวิชาทางการศึกษา-พื้นฐาน  26 หน่วยกิต
  5. กลุ่มวิชาทางการศึกษา-ประยุกต์  11 หน่วยกิต
  6. กลุ่มวิชาทางการศึกษา-ประสบการณ์วิชาชีพครู  13 หน่วยกิต
  7. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ-ทางวิศวกรรม  12 หน่วยกิต
   
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
     

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา