โลโก้เว็บไซต์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ


สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (Bachelor of Engineering Program in Industrial Engineering)

หลักสูตร
  ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Industrial Engineering
 
ปริญญา
  ภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ)
  ภาษาอังกฤษ :

Bachelor of Engineering (Industrial)

 
ปรัชญาของหลักสูตร
  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ โดยมุ่งผลิตวิศวกรวิชาชีพที่มี ทางด้านปฏิบัติการพร้อมที่จะประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านทฤษฏีเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรม อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทย
 
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ในสภาพปัจจุบัน
  2. เพื่อผลิตวิศวกรอุตสาหการ ที่มีความสามารถปฏิบัติงานเฉพาะด้าน สามารถวางแผน ควบคุมการผลิต การตรวจสอบควบคุมคุณภาพ การศึกษางานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งนี้โดยมีความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบ และวิจัยงานอุตสาหกรรม อาทิ การวางผังและการออกแบบโรงงาน การวางสายงานการผลิต การทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
  3. เพื่อฝึกบัณฑิตให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีกิจนิสัยในการค้นคว้าปรับปรุงตนเอง ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการปฏิบัติและการควบคุมงานที่ถูกหลักวิชาการ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างประหยัด รวดเร็ว ตรงต่อเวลาและมีคุณภาพ
   4. เพื่อปลูกฝังคุณธรรม ความมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร ความสำนึกในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
 
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
  1. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียน(วิทย์-คณิต ) หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม , เตรียมวิศวกรรมศาสตร์
  2. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างกลโรงงาน ช่างกลโลหะ ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น ช่างท่อและประสาน ช่างโลหะ ช่างแม่พิมพ์ ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ช่างเขียนแบบเครื่องกล ช่างซ่อมบำรุง หรือสาขาช่างอุตสาหกรรมอื่นๆโดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และที่ประกาศเพิ่มเติม
 
แนวทางการประกอบอาชีพ
 

1. เป็นผู้จัดการโรงงาน

 

2. เป็นวิศวกรวางระบบ

 

3. เป็นวิศวกรโรงงาน

 

4. เป็นวิศวกรโครงการ

 

5. เป็นวิศวกรในหน่วยงานของรัฐ

  6. เป็นวิศวกรในสถาบันการเงินและอุตสาหกรรมบริการชั้นนำของประเทศ
 
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   72,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา   9,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน         4,500 บาท
 
โครงสร้างหลักสูตร จำนวน 149 หน่วยกิต
 
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป   31 หน่วยกิต
  1. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
  2. กลุ่มวิชาภาษา-วิชาภาษาตะวันตก 12 หน่วยกิต
  3. กลุ่มวิชาภาษา-วิชาภาษาตะวันออก 3 หน่วยกิต
  4. กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ 2 หน่วยกิต
  5. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ – บังคับ   3 หน่วยกิต
  6. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ – เลือก 2 หน่วยกิต
  7. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์-คณิตศาสตร์  3 หน่วยกิต
  8. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์  3 หน่วยกิต
     
หมวดวิชาเฉพาะ 112 หน่วยกิต
  1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 45 หน่วยกิต
  2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 52 หน่วยกิต
  3. กลุ่มวิชาชีพเลือก 9 หน่วยกิต
  4. กลุ่มวิชาชีพบังคับ - เลือกทางสหกิจศึกษา 6 หน่วยกิต
 
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
     

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา