โลโก้เว็บไซต์ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต  | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต


สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ( Bachelor of Engineering Program in Industrial Engineering)

หลักสูตร
  ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Industrial Engineering
 
ปริญญา
  ภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ) วศ.บ.(วิศวกรรมอุตสาหการ)
  ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering (Industrial Engineering) B.Eng.(Industrial Engineering)
 
ปรัชญาของหลักสูตร
  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มุ่งมั่นพัฒนาวิชาการควบคู่คุณธรรมจริยธรรมและมุ่งผลิตวิศวกรวิชาชีพ ที่มีความรู้ทางด้านปฏิบัติการพร้อมที่จะประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านทฤษฏีเพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรม อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทย
 
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานด้าน วิศวกรรมอุตสาหการในสภาพปัจจุบัน
  2. เพื่อผลิตวิศวกรอุตสาหการ ที่มีความสามารถปฏิบัติงานเฉพาะด้าน สามารถวางแผนควบคุมการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ การศึกษางานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งนี้ โดยมีความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบ และวิจัยงานอุตสาหกรรม
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีกิจนิสัยในการค้นคว้าปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ สามารถวางแผนเพื่อกำหนดการปฏิบัติและการควบคุมงานที่ถูกหลักวิชาการ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างประหยัด รวดเร็ว ตรงต่อเวลาและมีคุณภาพ
  4. เพื่อปลูกฝังคุณธรรม ความมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร ความสำนึกในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
 
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมหรือหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ และให้เป็นไปตามระเบียบหรือประกาศรับสมัครของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  2. รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างกลโรงงาน ช่างกลโลหะ ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น ช่างท่อประสาน ช่างโลหะ ช่างแม่พิมพ์ ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ช่างเขียนแบบเครื่องกล ช่างซ่อมบำรุง หรือเทียบเท่า และสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับ มทร.ล้านนา ที่ประกาศเพิ่มเติม
 
แนวทางการประกอบอาชีพ
  1. วิศวกรรมควบคุม
  2. วิศวกรรมความปลอดภัย
  3. วิศวกรประจำโรงงาน
  4. วิศวกรระบบการผลิต
  5. วิศวกรซ่อมบำรุง
  6. รับราชการ
  7.อาชีพอิสระที่ตรงสาขา
 
ระยะเวลาการศึกษา
  1. สำหรับการลงทะเบียนแบบเต็มเวลา ระยะเวลาศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปีการศึกษา สำเร็จได้ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษาปกติ ใช้เวลาศึกษา ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
  2. สำหรับการลงทะเบียนแบบไม่เต็มเวลา ระยะเวลาศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปีการศึกษา สำเร็จได้ไม่ก่อน 14 ภาคการศึกษาปกติ ใช้เวลาศึกษา ไม่เกิน 12 ปีการศึกษา
 
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร   72,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา    9,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน            4,500 บาท
 
โครงสร้างหลักสูตร จำนวน 145 หน่วยกิต
 
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป   30 หน่วยกิต
  วิชาศึกษาทั่วไป (บังคับ)   24 หน่วยกิต
    1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 12 หน่วยกิต  
    2. กลุ่มวิชาสุขภาพ 3 หน่วยกิต  
    3. กลุ่มวิชาบูรณาการ 9 หน่วยกิต  
  วิชาศึกษาทั่วไป (เลือก)   6 หน่วยกิต
    1. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต  
    2. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต  
หมวดวิชาเฉพาะ   109 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ   45 หน่วยกิต
    1. วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 21 หน่วยกิต  
    2. วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ 24 หน่วยกิต  
  กลุ่มวิชาชีพบังคับ   56 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาชีพเลือก   8 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี   6 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาเลือกเสรี   6 หน่วยกิต

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา