โลโก้เว็บไซต์ อุตสาหกรรม | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

อุตสาหกรรม


 สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Bachelor of Engineering Program in Electronics Engineering)

หลักสูตร
  ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Electronics Engineering
 
ปริญญา
  ภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์) / วศ.บ.(วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์)
  ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering (Electronics) / B.Eng. (Electronics)
 
ปรัชญาของหลักสูตร
  มุ่งพัฒนาวิชาการควบคู่กับจริยธรรม เพื่อผลิตวิศวกรนักปฏิบัติที่มีความรู้ ความสามารถ เชี่ยวชาญ ทางด้านเทคโนโลยี มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และพึ่งพาตัวเองได้
 
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นผู้ที่มีความรู้และความคิดสร้างสรรค์ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ สำหรับการพัฒนาประเทศและพร้อมที่จะศึกษาในระดับสูงต่อไป
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นผู้มีความคิดและการทำงานอย่างมีระบบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม สำนึกในจรรยาบรรณวิชาชีพ รับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการประยุกต์วิทยาการพื้นฐาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเอง
  4. เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในวิชาการสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
 
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
  1. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สายช่างอุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้า สาขาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาเทคนิคคอมพิวเตอร์ หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ หรือเทียบเท่าสาขาที่ระบุ
  2. ผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สายช่างอุตสาหกรรม สาขาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์ หรือเทียบเท่าสาขาที่ระบุ โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม
 
แนวทางการประกอบอาชีพ
  1. อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำการออกแบบและผลิตแผ่นวงจรรวม อุปกรณ์หน่วยความจำและฮาร์ดดิสก์ ได้แก่ บริษัท FASL(Thailand) หรือเดิมคือ Advanced Micro Devices (AMD)
  2. การสื่อสารและโทรคมนาคม ต้องการวิศวกรติดตั้งและดูแลระบบการสื่อสาร ภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้ ได้แก่ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท การสื่อสารโทรคมนาคม จำกัด บริษัท AIS บริษัท DTAC
  3. วิศวกรการออกแบบและผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ บริษัท SONY HITACHI Panasonic Mitsubishi ตลอดจนบริษัทขนาดใหญ่ของคนไทยและอุตสาหกรรม SME ที่มีอยู่อย่างมากมาย
  4. วิศวกรควบคุมและซ่อมบำรุงระบบในอุตสาหกรรมหนัก ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหรรมเหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์
 
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร      72,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา     9,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน             4,500 บาท
 
โครงสร้างหลักสูตร จำนวน 140 หน่วยกิต
 
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    30 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์ 3 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาภาษา-ภาษาตะวันออก 3 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ 2 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์-บังคับ 2 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์-เลือก 2 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์-คณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ 3 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาภาษา-ภาษาตะวันตก บังคับ 9 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาภาษา-ภาษาตะวันคก เลือก 3 หน่วยกิต
     
หมวดวิชาเฉพาะ    104 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 36 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาชีพบังคับ 56 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาชีพเลือก 12 หน่วยกิต
     
หมวดวิชาเลือกเสรี   6 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา