โลโก้เว็บไซต์  สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า


 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (Bachelor of Engineering Program in Electrical Engineering)

หลักสูตร
  ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Electrical Engineering
 
ปริญญา
  ภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า) / วศ.บ.(วิศวกรรมไฟฟ้า)
  ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering (Electrical Engineering) / B.Eng.(Electrical Engineering
 
ปรัชญาของหลักสูตร
  มุ่งพัฒนาวิชาการควบคู่กับจริยธรรม เพื่อผลิตวิศวกรนักปฏิบัติที่มีความรู้ ความสามารถ เชี่ยวชาญ ทางด้านเทคโนโลยี มีจรรยาบรรณใน วิชาชีพ และพึ่งพาตัวเองได้
 
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีความสามารถปฏิบัติงานด้านวิศวกรรม ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อผลิตวิศวกรที่มีความสามารถเป็นพิเศษเข้าปฏิบัติงานในระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบการวัดและควบคุม และเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้า โดยมีพื้นฐานในด้านการ ออกแบบ วิจัยและพัฒนา ทั้งสามารถเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินการออกแบบ ติดตั้งและทดสอบได้
  3. เพื่อฝึกฝนบัณฑิตให้มีความคิดริเริ่ม มีกิจนิสัยในการค้นคว้า และปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ สามารถแก้ปัญหาด้วยหลักการและเหตุผล ปฏิบัติงานด้วย หลักวิชาการที่มีการวางแผน และควบคุมอย่างรอบคอบ ซึ่งก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน
  4. เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียร ความสำนึกในจรรยาบรรณแห่งอาชีพ และความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
 
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
  1. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สายช่างอุตสาหกรรม สาขาไฟฟ้า สาขาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาเทคนิคคอมพิวเตอร์ หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ 
  2. ผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สายช่างอุตสาหกรรม สาขาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์ หรือเทียบเท่าสาขาที่ระบุ โดยใช้วิธีการเทียบโอนตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่ประกาศเพิ่มเติม
 
แนวทางการประกอบอาชีพ
  1. พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง
  2. พนักงานองค์การโทรศัพท์
  3. อาจารย์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  4. อาจารย์ระดับการศึกษาอุดมศึกษา
  5. วิศวกรควบคุมโรงงาน
  6. วิศวกรสังกัดกระทรวงต่าง ๆ
  7. วิศวกรออกแบบระบบไฟฟ้า
  8. เจ้าของกิจการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า
 
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร      72,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา     9,000 บาท
  ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน             4,500 บาท
 
โครงสร้างหลักสูตร จำนวน 147 หน่วยกิต
 
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    31 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์ 3 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาภาษา-ภาษาตะวันตก 12 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาภาษา-ภาษาตะวันออก 3 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ 2 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์-บังคับ 3 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์-เลือก 2 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์-คณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ 3 หน่วยกิต
     
หมวดวิชาเฉพาะ    110 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 48 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาชีพบังคับ 48 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาชีพเลือก 14 หน่วยกิต
     
หมวดวิชาเลือกเสรี   6 หน่วยกิต
  กลุ่มวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา